บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซี ประจำวันที่ 4 - 8 พฤศจิกายน 2019

อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว: 

  • EUR/USD สิ่งที่คาดการณ์ไว้ได้เกิดขึ้น: เมื่อวันพุธที่ 30 ตุลาคม ธนาคารเฟดสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยของดอลลาร์จาก 2.0% เหลือ 1.75% ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มอ่อนค่าลง ราคาคู่นี้ขยับสูงขึ้น แต่การผันผวนของราคาค่อนข้างปานกลาง: เพราะตลาดได้เตรียมพร้อมรับการตัดสินใจของธนาคารเฟดมานานแล้ว ดังนั้น ราคาจึงแทบจะไม่แตะถึงระดับ 1.1175 โดยกลับมาสู่ระดับแนวรับ/แนวต้านระยะกลาง ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
    สถิติสำคัญของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งประกาศออกมาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ไม่ได้ช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์มากเท่าใดนักเช่นกัน จำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP) ของเดือนตุลาคมสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ (128K จาก 89K) แต่ยังคงต่ำกว่าตัวเลขของเดือนกันยายนที่ 180K อยู่มาก ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในภาคการผลิต ISM ก็ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เช่นกัน (48.3 แทนที่ 48.9) ด้วยเหตุนี้ ความพยายามของตลาดหมีที่จะผลักราคาให้ต่ำลงกลับไม่เป็นผล และหลังจากแตะที่ระดับ 1.127 ราคาก็กลับทิศทางขึ้นมาและปิดตลาดท้ายสัปดาห์ที่ 1.1165
  • GBP/USD มหากาพย์เบร็กซิตที่ยืดเยื้อยังคงมีอีกหลายตอนให้ติดตามกัน อังกฤษยังไม่เคยแยกตัวออกจากอียู ตัวละครหลักของซีรีส์เรื่องนี้คือนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ผู้ที่เคยให้สัญญาไว้ว่าจะยอม “ตายในคู” หากเบร็กซิตไม่เกิดขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม แต่ก็ต้องยอมเปลี่ยนใจในที่สุด อียูอนุญาตให้สหราชอาณาจักรเลื่อนกำหนดออกไปอีกครั้ง และ ณ ขณะนี้ประเทศกำลังมุ่งหน้าสู่การเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 12 ธันวาคม
    ซีรีส์ตอนถัดไปจะมุ่งไปที่การให้ความเห็นชอบในการแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้งโดยรัฐสภา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าสมาชิกรัฐสภาอังกฤษจะหันหัวเรือไปในทิศทางใด และขึ้นอยู่กับว่านายกรัฐมนตรีจอห์นสันจะยังคุมเรือไหวอยู่หรือไม่
    การเลื่อนกำหนดเบร็กซิตอีกครั้งและการอ่อนค่าลงของดอลลาร์ทำให้เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นมาบางส่วน โดยในช่วงกลางวันของวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ราคา GBP/USD ขยับขึ้น 150 จุดจากนั้นก็เคลื่อนที่ในทางด้านข้างที่ช่วง 1.2925-1.2975 และปิดที่ 1.2937
  • USD/JPY ตามที่คาดการณ์ไว้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยตามเดิมที่ -0.1% การเติบโตของเงินเยนในสัปดาห์ที่แล้วเป็นผลมาจากปัจจัยสามประการ ดังนี้: การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟดสหรัฐฯ ข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ยังคงถอยหลัง และการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว ตามรายงานของ Bloomberg ระบุว่า ฝ่ายจีนอาจไม่ต้องการบรรลุข้อตกลงการค้าจริงจังใดๆ กับ “ประธานาธิบดีทรัมป์ที่ไม่น่าเชื่อถือ” ในส่วนของนายทรัมป์ก็ไม่น่าจะที่จะบั่นทอนความสัมพันธ์กับจีน เพราะคงไม่อยากที่จะทำลายเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงใกล้การเลือกตั้งประธานาธิบดี ดังนั้นเราน่าจะได้เห็นภาวะสงบขึ้น
    ท่ามกลางสถานการณ์นี้ ผลลัพธ์ของสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ค่าเงินญี่ปุ่นแข็งขึ้นมาที่ระดับ 107.88 แต่ตามมาด้วยการรีบาวด์เล็กน้อย และราคาปิดตลาดท้ายสัปดาห์ที่ 108.16
  • คริปโตเคอเรนซี ทอม ลี นักวิเคราะห์และผู้ร่วมก่อตั้ง Fundstrat มั่นใจว่าตลาดหุ้นจะส่งผลต่อราคาบิทคอยน์โดยตรง “เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (25 ตุลาคม) ดัชนี S&P500 เริ่มเติบโตอย่างแข็งขันอันเนื่องมาจากราคาหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่หลายแห่งเติบโตขึ้น บิทคอยน์ก็แข็งค่าขึ้นมากด้วยเช่นกัน หลายคนเอ่ยถึงคำพูดของนายสี จิ้นผิง แต่ที่จริงแล้วทุกอย่างอาจอยู่ที่ตลาดหุ้น” กล่าวโดยนายลี อย่างไรก็ตาม ในทางหนึ่งเขาอาจไม่ได้พิจารณาถึงการเติบโตขึ้นของหุ้นเทคโนโลยีที่อาจเป็นผลมาจากคำพูดของประธานาธิบดีจีนเกี่ยวกับความนิยมสกุลเงินดิจิทัลและบล็อกเชน
    แต่จะทางไหนก็ตาม ตามรายงานของ Google Trends แนวโน้มขาขึ้นของบิทคอยน์ส่งผลให้การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตในหัวข้อคริปโตเคอเรนซีเพิ่มขึ้นถึง 30% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่หากการเติบโตของบิทคอยน์ส่งผลต่อการสืบค้นที่เพิ่มขึ้น ก็หมายความว่าการสืบค้นที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ส่งผลต่อบิทคอยน์แต่อย่างใด ตามที่เราคาดการณ์ไว้หลังจากราคาที่ผันผวน ตลาดกลับสู่ระยะสงบอีกครั้งและความผันผวนเริ่มนิ่งตัวอย่างช้าๆ ก่อนที่ราคาจะปักหลักที่โซน $9,250 เกิดเป็นรูปทรงในการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เรียกว่า “pennant”
    ตามหลังบิทคอยน์ (BTC/USD) มาติดๆ ได้แก่อัลท์คอยยอดนิยมอย่าง Ethereum (ETH/USD), Ripple (XRP/USD) และ Litecoin (LTC/USD) ก็เช่นเดียวกัน มูลค่ารวมในตลาดเงินคริปโตไม่ใช่ข้อยกเว้น ซึ่งก็สมเหตุสมผล ปริมาณค่อยๆ ลดลงในช่วงระหว่างสัปดาห์จาก $257 เหลือ $239 พันล้าน

 

สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:

  • EUR/USD ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ธนาคารกลางยุโรปเริ่มซื้อสินทรัพย์ตลาดมูลค่ากว่า 20 พันล้านยูโรต่อเดือน ในวันเดียวกัน คริสติน ลาการ์ด ประธานไอเอ็มเอฟเข้ารับตำแหน่งแทนที่นายมารีโอ ดรากีห์ ในฐานะประธานธนาคารฯ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านมองว่า ภายใต้การบริหารของเธอ นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรปจะผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงต่อเงินดอลลาร์
    แต่ก็มีสถานการณ์ในทางกลับกันเช่นกัน โดยมีการบ่งชี้ว่าภายใต้แรงกดดันของนายทรัมป์ ธนาคารเฟดสหรัฐฯ จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนเหลือศูนย์ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของเงินดอลลาร์และช่วยให้ตลาดอเมริกันมีค่าเงินที่ถูกลง ทำให้นายทรัมป์ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในสมัยที่สอง ตามรายงานกระทรวงการคลัวสหรัฐฯ ระบุว่าหนี้สาธารณะของรัฐบาลสหรัฐฯ แตะถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้วที่ $23 หมื่นล้านเหรียญ และการสั่งพิมพ์ธนบัตรแบบไร้หลักประกันเพิ่มขึ้นต่อไปอาจส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเป็นอย่างมาก การสั่งลดเงินภาษีเงินเดือนช่วงก่อนเลือกตั้งของนายทรัมป์อาจนำไปสู่ค่าเงินที่อ่อนตัวของดอลลาร์ได้เช่นกัน
    สถานการณ์นี้บังคับให้ผู้เล่นรายใหญ่มีความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากความผันผวนรายเดือนของ EUR/USD ลดลงเหลือ 4.5% ซึ่งเกิดขึ้นเพียงสองครั้งเท่านั้นเมื่อปี 2007 และ 2014
    หากเราพูดถึงอนาคตอันใกล้จะถึงนี้ แนวโน้มขาลงของเงินดอลลาร์และการเติบโตขึ้นของเงินยูโรในสัปดาห์หน้าคือสิ่งที่คาดการณ์โดยนักวิเคราะห์ 60% สนับสนุนโดยออสซิลเลเตอร์ 90% และดัชนีเทรนด์ในกรอบ H4 และ D1 เป้าหมายใกล้ที่สุดคือราคาที่ขยับขึ้นและแข็งตัวในช่วง 1.1200-1.1250 โดยมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 1.1350 และ 1.1410
    40% ของผู้เชี่ยวชาญซึ่งสนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟและออสซิลเลเตอร์ 10% ให้สัญญาณเกี่ยวกับค่าเงินยูโรถูกซื้อมากเกินไป จึงโหวตให้กับแนวโน้มขาลงของเงินยูโร ในสถานการณ์เช่นนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่ราคาจะขยับในช่องด้านข้างที่ 1.1075-1.1175 และในกรณีที่ราคาตัดทะลุกรอบด้านล่าง ราคาจะลดต่ำลงมาที่แนวรับในโซน 1.1000
    การก่อตัวของเทรนด์ในพื้นที่อาจได้รับอิทธิพลจากตัวเลขการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมทางธุรกิจ ISM ในภาคบริการ ซึ่งเราจะได้ทราบกันในวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน ตามคำทำนายคาดว่าราคาอาจเติบโตจาก 52.6 เป็น 53.2 ซึ่งในระยะสั้นจะช่วยให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

  • GBP/USD วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายนจะอุทิศให้กับสหราชอาณาจักร ในวันนี้ ธนาคารแห่งชาติอังกฤษจะประกาศผลการตัดสินใจในอัตราดอกเบี้ย รวมถึงปริมาณการซื้อสินทรัพย์ที่วางแผนไว้ ตัวเลขเหล่านี้ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ดังนั้น ความสนใจหลักจะมุ่งไปที่คำแถลงของประธานธนาคารฯ นายมาร์ค คาร์นีย์ ซึ่งนักลงทุนจะเล็งหาคำตอบว่าธนาคารฯ จะมีท่าทีอย่างไรต่อผลลัพธ์การเลือกตั้งรัฐสภาล่วงหน้าที่จะถึงนี้ แม้ว่านายคาร์นีย์เองมักจะแสดงท่าทีที่ค่อนข้างคลุมเครือไม่ต่างอะไรกับสภาพอากาศในลอนดอนก็ตาม
    ณ ขณะนี้ ดัชนีส่วนใหญ่ยังให้สัญญาณสีเขียว 65% ของผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าหลังจากเงินยูโรที่ขยับขึ้น เงินปอนด์จะแข็งค่าต่อเงินดอลลาร์เช่นกัน โดยมีแนวต้านใกล้ที่สุดที่ 1.3015 และตั้งเป้าไว้ที่ 1.3125
    ดัชนีที่เหลืออีก 35% ร่วมกับการวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 และ D1 เชื่อว่าคู่สกุลเงิน GBP/USD จะคงอยู่ในช่วงด้านข้างที่ 1.2790-1.3015 หากกรอบด้านล่างถูกตัดทะลุลง ระดับแนวรับจะอยู่ในโซน 1.2700
  • USD/JPY ไม่น่าจะมีเหตุการณ์น่าประหลาดใจจากการประชุมของนโยบายการเงินในคณะกรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายนเช่นกัน นอกจากนี้ ในสัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางฯ ยังไม่ได้ยืนยันการไม่เปลี่ยนแปลงท่าที แต่ก็ได้ลบเส้นตายออกไป ณ ขณะนี้ “ไม่ใช่จนถึง 2020” แต่เป็น “ตราบเท่าที่จำเป็น” ดังนั้นเงินเยนน่าจะได้รับอิทธิพลจากดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจของ ISM ในภาคบริการสหรัฐฯ
    ปัจจุบันความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้: 65% สนับสนุนโดยดัชนี 75% โหวตให้กับแนวโน้มขาลงต่อไปของคู่สกุลเงิน ส่วนอีก 30% สนับสนุนโดยดัชนี 25% เห็นด้วยกับแนวโน้มฝั่งกระทิง โดยมีแนวรับที่ 107.50 และ 106.65 ระดับแนวต้านอยู่ที่ 108.50, 109.00, 109.30 และ 110.70
  • คริปโตเคอเรนซี ดาร์เรล ดัฟฟี่ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด เชื่อว่าภายใน 10 ปี บิทคอยน์และคริปโตเคอเรนซีสกุลอื่นจะสามารถเข้ามาแทนที่ธนาคารปกติทั่วไปโดยสมบูรณ์ และแรงกดดันของทางการต่อเงินดิจิทัล Libra และโครงการที่น่าสนใจอื่นๆ คือข้อผิดพลาดขนาดใหญ่ “รัฐบาลจะเสียใจที่พวกเขาไม่สามารถหาข้อสรุปกับซัคเคอร์เบิร์กและนักพัฒนารายอื่นๆ สกุลเงินคริปโตที่มีชุมชนรองรับขนาดใหญ่ (Facebook) สามารถทำลายระบบการเงินได้อย่างง่ายดายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน” กล่าวถึงภัยโดยนายดัฟฟี่
    อย่างไรก็ตาม เมื่อขยับจากกรอบเวลา 10 ปีเป็นกรอบเวลา 7 วัน ความกระหายของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เริ่มลดลง ดังนั้น นักวิเคราะห์ 50% กำลังรอคอยเทรนด์ด้านข้างร่วมกับการปักหลักที่ช่วง $9,000-9,500 ซึ่ง 25% เชื่อว่าคู่สกุลเงิน BTC/USD อาจขยับถึงโซน $9,700-10,000 และอีก 25% ที่เหลือในทางกลับกันคาดว่าจะได้เห็นราคาที่ $8,100-8,500
    สำหรับคำทำนายในระยะกลาง ผู้เชี่ยวชาญ 80% เชื่อว่าราคาจะขยับถึงโซน $10,500-11,000 ในช่วงเริ่มปี 2020

 

โรมัน บุทโก, NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา